เมนู

วรรณนากำลังพระตถาคตข้อที่ 7


คำว่า ฌานวิโมกฺขสมาธิสมาปตฺตีนํ (แปลว่า แห่งฌาน วิโมกข์
สมาธิ สมาบัติ) ได้แก่ ทรงทราบความเศร้าหมอง ควานผ่องแผ้ว ความออก
แห่งฌาน 4 มีปฐมฌานเป็นต้น. . . แห่งวิโมกข์ 8 มีคำว่า รูปารูปานิ ปสฺสติ
เป็นต้น . . . แห่งสมาธิ 3 อันเป็นไปกับด้วยวิตกและวิจารเป็นต้น . . . แห่ง
อนุปุพพสมาบัติ 9 มีปฐมฌานสมาบัติเป็นต้น. คำว่า สงฺกิเลสํ (แปลว่า ความ
เศร้าหมอง) ได้แก่ ธรรมอันเป็นส่วนแห่งความเสื่อม. คำว่า โวทานํ (แปล
ว่า ความผ่องแผ้ว ) ได้แก่ ธรรมอันเป็นส่วนวิเศษ คือฝ่ายดี. คำว่า วุฏฺฐานํ
(แปลว่า ความออก) ได้แก่ ย่อมออกจากฌานเป็นต้น ด้วยเหตุใด ย่อมทราบ
ซึ่งเหตุนั้น.

วรรณนากำลังพระตถาคตข้อที่ 8, 9, 10.


คำว่า ปุพฺเพนิวาสานุสฺสตึ (แปลว่า ความระลึกชาติหนหลัง)
ได้แก่ ทรงระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยแล้วในกาลก่อน. การจุติและการอุปบัติ
ชื่อว่า จุตูปปาตะ พระองค์ทรงทราบทั้งความตายและความเกิดขึ้นแห่งสัตว์
ทั้งหลาย. คำว่า อาสวานํ ขยํ (แปลว่า ความสิ้นอาสวะ) ได้แก่ พระนิพพาน
อันดับเสียงซึ่งอาสวะ กล่าวคือ ความสิ้นไปแห่งกามาสวะเป็นต้น. คำว่า
อิมานิ (แปลว่า กำลังเหล่านี้) ได้แก่ ญาณ 10 เหล่าใด ที่กล่าวแล้วใน
หนหลังว่าเป็นกำลังของพระตถาคตเหล่านี้ ก็คือญาณ 10 เหล่านั้น แล.
บัดนี้ บัณฑิตทราบการวรรณนาบทมาโดยลำดับในมาติกานี้อย่างนี้
แล้ว พึงทราบอีกว่า พระตถาคตย่อมทรงเห็นซึ่งเวไนยสัตว์ทั้งหลายผู้มี
กิเลสาวรณ์ (คือ มีกิเลสเป็นเครื่องกั้น) อันเป็นฐานะและอฐานะของสัตว์ผู้

จะบรรลุและไม่บรรลุซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะ ด้วยฐานาฐานญาณก่อน เพราะ
ทรงเห็นฐานะคือโลกิยสัมมาทิฏฐิ และทรงเห็นซึ่งความไม่มีฐานะคือ นิยต-
มิจฉาทิฏฐิ. ต่อจากนั้น ก็ทรงเห็นซึ่งความที่สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นมีวิบาก
เป็นเครื่องกั้นมิให้บรรลุคุณวิเศษ ด้วยกัมมวิปากญาณ (คือญาณรู้ผลของ
กรรม) เพราะทรงเห็นสัตว์ผู้ปฏิสนธิมาด้วยติเหตุกะ. ย่อมทรงเห็นซึ่งความที่
สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นเครื่องกั้น ด้วยสัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ (คือ
ญาณหยั่งรู้ทางไปสู่ภูมิทั้งปวง) เพราะทรงเห็นความไม่มีแห่งอนันตริยกรรม.
ทรงเห็นคุณวิเศษแห่งความประพฤติ เพื่อแสดงธรรมอนุเคราะห์แก่สัตว์ผู้ไม่มี
กรรมเป็นเครื่องกั้นอย่างนี้ ด้วยอเนกธาตุนานาธาตุญาณ (ญาณ หยั่งรู้
โลกอันเป็นอเนกธาตุและนานาธาตุ) เพราะทรงเห็นความต่างกันแห่งธาตุ.
ลำดับนั้น ทรงเห็นซึ่งอธิมุตติ (คือ อัธยาศัยของสัตว์เหล่านั้น) ได้ ด้วยนานา-
ธิมุตติกตญาณ
(ญาณ หยั่งรู้อัธยาศัยต่าง ๆ กัน) จึงมิได้ทรงถือเอาพิธีการ
เพื่อแสดงธรรมด้วยอำนาจแห่งอัธยาศัย. ต่อจากนั้น ทรงเห็นความหย่อนและ
ความยิ่งแห่งอินทรีย์ เพื่อแสดงธรรมตามสติ ตามกำลังแห่งสัตว์ผู้มีอัธยาศัย
ที่จะรู้ได้ด้วยอินทริยปโรปริยัตติญาณ เพราะทรงเห็นความที่ศรัทธาเป็นต้น
เป็นธรรมแก่กล้าและอ่อน. ก็ถ้าว่า ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์อันสัตว์พึง
รู้ได้อย่างนี้เป็นธรรมชาติแก่กล้าไซร้ อินทรีย์เหล่านั้นย่อมเข้าถึงได้เร็วพลัน
ด้วยคุณวิเศษแห่งฤทธิ์ เพราะความที่ตนเป็นผู้ชำนาญแล้วในฌานเป็นต้นด้วย
ญาณในฌานเป็นต้น. ก็แลครั้นเข้าถึงแล้ว จึงทรงแสดงธรรมซึ่งความที่สัตว์
เหล่านั้นเป็นผู้มีอัธยาศัยอันเกิดในกาลก่อน ด้วย ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
เพราะอานุภาพแห่งทิพยจักษุ ทรงเห็นอยู่ซึ่งความวิเศษแห่งจิตที่ถึงพร้อมด้วย
เจโตปริยญาณ ด้วยอานุภาพแห่งอาสวักขยญาณ จึงทรงแสดงธรรมเพื่อ

ความสิ้นไปแห่งอาสวะ เพราะสัตว์เหล่านั้น มีความหลงใหลไปปราศแล้ว ด้วย
ทางอันให้ถึงอาสวักขยญาณ ฉะนั้น โดยลำดับนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้-
มีพระภาคเจ้า ตรัสญาณ 10 เหล่านั้นว่าเป็นกำลัง.
นี้เป็นการวรรณนาเนื้อความในมาติกาก่อน.

อรรถกถาเอกกนิทเทส


อธิบายญาณวัตถุหมวด 1


บัดนี้ เป็นการปฏิเสธการแสดงสาธารณเหตุ ในคำว่า เป็น น เหตุ
ทั้งนั้น ในนิทเทสวาระที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มไว้ ในมาติกาตามที่ทรงตั้ง
ไว้ว่า ปญฺจวิญฺญาณา น เหตุเมว เป็นต้น.
ในคำเหล่านั้น คำใดที่จะพึงกล่าวโดยนัยว่า จตุพฺพิโธ เหตุ เป็น
ต้น (แปลว่า เหตุมี 4 อย่าง) คือ.
1. เหตุเหตุ
2. ปัจจยเหตุ
3. อุตตมเหตุ
4. สาธารณเหตุ
คำนั้นทั้งหมด ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในการวรรณนาเนื้อความแห่งคำ
ทั้งหลายในรูปกัณฑ์ว่า สพฺพํ รูปํ น เหตุเมว เป็นต้น (แปลว่า รูปทั้ง
หมดเป็น นเหตุทั้งนั้น) นั่นแหละ.
ในคำว่า อเหตุกเมว เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบ อักษร ด้วย
สามารถแห่งพยัญชนะสนธิ. คือเป็น อเหตุกาเอว (แปลว่า เป็นอเหตุกะทั้ง